7 ขั้นตอนเปิดร้านทุกอย่าง 20 บาท

7 ขั้นตอนเปิดร้านทุกอย่าง 20 บาท

ใครที่กำลังมีแพลนจะทำธุรกิจเปิดร้านทุกอย่าง 20 บาท หรือเปิดร้านขายของ 20 บาท แวะมาทางนี้เลยค่ะ เพราะคอนเทนต์นี้ทำขึ้นมาสำหรับร้านค้าปลีกประเภทนี้โดยเฉพาะ

หลายคนอาจมองว่าร้านประเภทนี้ก็คงคล้าย ๆ กับร้านค้าปลีกทั่วไปที่ไม่ต้องอะไรมากมาย แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีจุดเด่น ข้อดีข้อเสียแบบเฉพาะเจาะจงของการเปิดร้านประเภทนี้ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ ต้องรู้ไว้ก่อนเปิดร้าน

7 ขั้นตอนเปิดร้านทุกอย่าง 20 บาท

1. เตรียมพร้อมก่อนเปิด

ก่อนที่จะเริ่มต้นเปิดร้าน 20 บาท คุณจะต้องวางแผนและศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ดูทิศทางการทำธุรกิจ คาดคะเนสิ่งที่จะเป็นไปได้ในอนาคตว่าหากลงมือทำไปแล้ว ธุรกิจจะไปได้สวยหรือเปล่า รวมถึงดูต้นทุน เงินหมุนเวียน ข้อดีข้อเสียของการเปิดร้านประเภทนี้ด้วย

1.1 คำนวณเงินทุน

เปิดร้าน 20 บาท ลงทุนเท่าไหร่? : ต้องดูสถานที่ว่ามีขนาดใหญ่เท่าไหร่ เบื้องต้นสำหรับเตรียมร้านขนาดเล็ก 1 ห้อง ทั้งค่าตกแต่งร้าน ค่าชั้นวางสินค้า อาจเริ่มต้นประมาณ 30k – 40k แต่หากพื้นที่เยอะ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีค่าซื้อสินค้ามาสต็อก อาจต้องลงทุนถึง 50k – 100k ขึ้นอยู่กับขนาดร้านและความต้องการของคุณเองว่าอย่าจะลงมากหรือน้อยนั่นเอง

สำหรับคนที่อยากเปิดร้านเล็ก ๆ ในการเริ่มต้นนั้น ถ้าเป็นร้านหน้าบ้าน ไม่จำเป็นต้องเสียค่าเช่าที่ ไม่มีรายจ่ายเยอะมาก คุณอาจจะเริ่มจากการเปิดร้านขนาดเล็ก ๆ และค่อย ๆ ทยอยเติมสินค้าไปเรื่อย ๆ ก็ได้

แต่ถ้าเป็นร้านที่ต้องเช่าพื้นที่ คุณจะต้องคำนวณต้นทุนอย่างดี เพื่อที่จะดูว่าทุกอย่างพอรวมกันแล้วมันจะคุ้มค่าหรือไม่ที่จะเปิดร้าน

1.2 จดทะเบียนพาณิชย์และภาษีร้านค้า

เปิดร้านขายทุกอย่าง 20 บาท ต้องจดทะเบียนไหม? : เมื่อเปิดร้านขายสินค้า ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ร้านค้า สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การจดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา) ของเว็บ DBD ซึ่งเป็นเว็บของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลยค่ะ
การเสียภาษี : หากร้านค้าของคุณ มีรายได้ต่อปีถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี คุณจะต้องยื่นเรื่องเสียภาษีด้วยนะคะ คลิก ภาษีร้านค้า เพื่ออ่านเพิ่มเติมได้เลย นอกจากนี้ยังมีภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้อง ถ้าคุณมีป้ายหน้าร้าน ก็จะต้องเสียภาษีป้ายด้วยค่ะ

1.3 ข้อดี-ข้อเสียร้าน ทุกอย่าง20

ข้อดี :

มีความอิสระ เพราะคุณได้เป็นเจ้าของธุรกิจ
เป็นร้านที่สินค้ามีความหลากหลาย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
ไม่เน่าเสีย เก็บไว้ได้นาน ขายได้เรื่อย ๆ
สินค้าราคาไม่แพง ทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง
เลือกสินค้าเข้ามาขายเองได้ตามกลุ่มเป้าหมาย

ข้อเสีย :

เสี่ยงต่อการได้สินค้าไม่มีคุณภาพมาขาย เพราะสินค้าราคาถูก
เสี่ยงต่อการขายไม่ออก หากเลือกสินค้าไม่ตอบโจทย์ลูกค้า
อาจยุ่งยากในการทำบัญชีและสต็อก หากบริหารคนเดียวหรือไม่มีคนช่วย
กำไรน้อย เป็นร้านที่ต้องเน้นขายให้ได้ปริมาณเยอะ ๆ

เตรียมเงินทุนและศึกษาข้อมูลก่อนเปิดให้ครบถ้วน / ที่สำคัญที่สุดคือคุณมี Passion มากพอรึเปล่า? กับการทำธุรกิจประเภทนี้ หากคุณมีใจรักที่จะทำ และคิดว่าในอนาคตคุณจะไม่ท้อแท้เมื่อเจออุปสรรคต่าง ๆ เข้ามา .. งั้นเราก็ลองลุยดูค่ะ!

2. เลือกทำเลให้ดีที่สุด

ทำเล เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับการเปิดร้านประเภทนี้ หากเลือกทำเลดี จะทำให้คนเข้ามาซื้อของที่ร้านได้ง่าย ทำเลดีที่เหมาะสำหรับการเปิดร้านขายของ 20 บาท จะต้องอยู่ในย่านชุมชน บริเวณที่มีคนสัญจรไปมาอยู่เป็นประจำ เช่น ใกล้โรงเรียน ตลาด ร้านสะดวกซื้อ โรงงานอุตสาหกรรมที่มีคนงานเยอะ ๆ เป็นต้น และพยายามเลี่ยงการเปิดร้านในบริเวณที่มีคู่แข่งเค้าเปิดร้านประเภทนี้ก่อนอยู่แล้วก็จะดีมากเลยค่ะ

ยิ่งถ้าหากใครมีพื้นที่หน้าบ้าน หรือบริเวณข้าง ๆ บ้านอยู่ในบริเวณที่เป็นชุมชนอยู่แล้ว ก็จะช่วยประหยัดค่าเช่าไปได้อีกเยอะเลยนะคะ

ทำเลที่ดี จะทำให้ร้านประสบความสำเร็จไปแล้วกว่า 50%

3. หาแหล่งซื้อสินค้า

เมื่อได้ทำเลแล้ว เราก็จะต้องหาแหล่งซื้อสินค้ากัน แหล่งซื้อที่ฮอตฮิต เป็นที่นิยมมาอย่างยาวนานนั่นก็คือ สำเพ็ง นั่นเอง

แต่สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่กรุงเทพฯ ก็จะต้องขึ้นอยู่กับว่า ร้านของคุณอยู่จังหวัดไหน เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะมาสำเพ็งได้ใช่มั้ยล่า? ยังมีคนทำธุรกิจในภาคเหนือ กลาง อีสาน ใต้ และภาคอื่น ๆ อีกมากมาย ฉะนั้นผู้เขียนจะขอแนะนำเพิ่มอีกนิดหน่อยก็คือ

ร้านขายส่งใกล้บ้าน ทำได้ด้วยการเสิร์ชใน Google ด้วยคำว่า “ร้านขายส่ง 20 บาท ใกล้ฉัน” เมื่อเสิร์ชแล้ว คุณอาจจะเจอร้านใกล้ ๆ ในละแวกนั้น หรือจะเสิร์ช “ร้านขายส่ง 20 บาท” ตามด้วยจังหวัดของคุณก็ได้ เช่น “ร้านขายส่ง 20 บาท ชลบุรี”
เว็บไซต์ของผู้ค้าส่งที่เชื่อถือได้ อีกแบบคือเสิร์ช “ร้านขายของส่ง 20 บาท” หรือ “โรงงานขายส่งทุกอย่าง 20 บาท” ก็ได้ค่ะ เมื่อเสิร์ชแล้ว คุณจะเจอเว็บต่าง ๆ มากมาย ที่เขาเป็นเว็บไซต์สำหรับขายส่งสินค้า 20 บาท ซึ่งบางเว็บแม้ว่าคุณอยู่ไกล เขาอาจจะมีบริการขนส่งให้ด้วย

เราขอเน้นว่า คุณจะต้องพิถีพิถันกับการเลือกร้านและต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดว่าพวกเขาน่าเชื่อถือไหม มีหน้าร้านหรือเปล่า มีรีวิวหรือไม่ มีคนที่เคยซื้อสินค้าจากเว็บนั้นจริงหรือเปล่า ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเพื่อป้องกันการโดนต้มตุ๋นด้วยนะคะ

เลือกแหล่งซื้อสินค้าจากร้านที่ใกล้บ้าน หรือเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ

4. ใช้ชั้นวางที่ตอบโจทย์

ชั้นวางสินค้า หรือชั้นวางสำหรับขายของ 20 บาท จะต้องเป็นชั้นวางสำหรับการเปิดร้าน 20 บาทโดยเฉพาะ เพราะจำเป็นต้องมีชั้นสำหรับวางสินค้าทั่วไป และชั้นสำหรับแขวนสินค้า โดยราคาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่เช่นเดียวกันค่ะ ตัวอย่างราคาของร้านขนาดเล็ก ก็จะประมาณ เซตละ 20k – 30k บาท
เซตอุปกรณ์ร้านค้าสิ่งที่ควรมีสำหรับร้าน 20 บาท
เซตอุปกรณ์ร้านค้าที่ควรมีสำหรับร้าน 20 บาท

ชั้นแขวนฮุก ชั้นวางที่เหมาะกับการแขวนโชว์สินค้าชิ้นเล็ก ๆ
ชั้นวางสินค้า ชั้นวางที่เหมาะกับการวางสินค้าชิ้นใหญ่ ๆ
เคาน์เตอร์คิดเงิน สำหรับคิดเงินลูกค้าที่จุดชำระเงิน

5. สต็อกสินค้าเยอะ ๆ ไว้ก่อน

ในการลงสินค้า ควรลงสินค้าเยอะ ๆ ไว้ก่อน เพราะร้านค้าประเภทนี้ ลูกค้าจะชอบเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่สต็อกในร้านแน่น ๆ และแม้จะเป็นชื่อ “ร้านทุกอย่าง 20 บาท” แต่ก็ควรที่จะหาสินค้าราคาอื่นมาขายเสริมกันไปด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า พร้อมกับเพิ่มกำไรให้กับผู้ขายได้ด้วย

แต่ถ้าเป็นร้านที่หน้าบ้าน ไม่มีรายจ่ายเยอะมาก ไม่จำเป็นต้องเสียค่าเช่าที่ คุณอาจจะเริ่มจากการเปิดร้านขนาดเล็ก และค่อย ๆ ทยอยเติมสินค้าไปเรื่อย ๆ ก็ได้

แต่ถ้าเป็นร้านที่ต้องเช่าพื้นที่ คุณจะต้องคำนวณต้นทุนอย่างดี เพื่อที่จะดูว่าทุกอย่างพอรวมกันแล้วมันจะคุ้มค่าหรือไม่ที่จะเปิดร้าน

เมื่อเริ่มขายได้ที่แล้ว ก็ค่อย ๆ เติมสินค้าโดยการสั่งเกตจากสิ่งที่ลูกค้าซื้อเป็นประจำ หรือสิ่งที่ลูกค้าถามหาก็ได้ค่ะ
ลิสต์รายการสินค้าที่ควรสต็อก

5.1 ของใช้ในบ้าน

ของใช้ในบ้าน เช่น ทิชชู่ ไม้แขวนเสื้อ กล่องใส่อาหาร
เครื่องครัว เช่น ตะหลิว จานชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ
อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ไม้กวาด แปรงล้างห้องน้ำ
อุปกรณ์ในห้องน้ำ เช่น แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ครีมขัดผิว
ของตกแต่งบ้าน เช่น กรอบรูป แจกัน ม่าน ดอกไม้ปลอม
สินค้าเบ็ดเตล็ด เช่น อุปกรณ์ตัดเย็บ ธูปเทียน แมสก์ ถุงมือ
พลาสติก เช่น เช่น กะละมัง ตะกร้า ถาด เก้าอี้ พานเงินพานทอง

5.2 ของใช้ส่วนตัวและกิ๊ฟช็อป

ของใช้ส่วนตัว เช่น หวี กระจก ยางรัดผม กิ๊บหนีบผม
เครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก แป้ง ครีมซอง ดินสอเขียนคิ้ว
สินค้ากิ๊ฟช็อป เช่น แว่นตากันแดด หมวก พวงกุญแจ
เครื่องเขียน เช่น สมุด ปากกา ดินสอ เทปกาว กรรไกร
ของเล่น เช่น รถ ตุ๊กตา ลูกโป่ง บอลพลาสติก ชุดทหารแผง
สินค้าเทศกาล เช่น ต้นคริสต์มาส กระดาษห่อของขวัญ

5.3 อื่น ๆ

อุปกรณ์ไอที เช่น เคสโทรศัพท์ สายชาร์จ หูฟัง ลำโพง
เครื่องมือช่าง เช่น กุญแจ ประเจ คีม ไขควง หลอดไฟ
อุปกรณ์การเกษตร เช่น เคียว พลั่ว เสียม กรรไกรตัดกิ่ง

6. วางแผนการตลาดเพิ่มยอดขาย

หลายคนบอกว่า เปิดร้าน 20 บาท มีโอกาสเจ๊งสูง..? มีโอกาสขาดทุนสูง..? เพราะกำไรไม่เยอะ และมีร้านค้ารายใหญ่มาตีตลาด ไหนจะแอปช้อปปิ้งที่สามารถสั่งให้มาส่งถึงบ้านได้ง่าย ๆ

แต่ผู้เขียนคิดว่า ไม่เจ๊งเสมอไปนะคะ เพราะถ้าจะทำให้การเปิดร้าน 20 บาทนั้น ดำเนินต่อไปและมีกำไรได้นั้น “การวางแผนการตลาดที่ดี” เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ เลยค่ะ ถ้าเรารู้จุดเด่นของการเปิดร้านประเภทนี้และโฟกัสให้ตรงจุด จะทำให้เรามีโอกาสประสบความสำเร็จได้

ลองนำข้อเสียของการสั่งผ่านแอปมาเปรียบเทียบกับการซื้อที่ร้าน 20 บาทกันดูนะ ข้อเสียของการสั่งผ่านแอป คือ ลูกค้าจะต้องเสียค่าส่ง หากสั่ง 20 – 50 บาท เมื่อมีค่าส่งด้วย จะทำให้ราคาแพงกว่าปกติ ร้าน 20 บาทจึงได้เปรียบตรงที่ ร้านเราอยู่ใกล้บ้านลูกค้า ลูกค้าสามารถแวะเข้ามาซื้อได้เพียงเดินผ่านหรือขับรถผ่าน ซึ่งก็ตรงกับที่เราได้กล่าวไว้ในข้อ 2 ว่า ถ้าทำเลดี มีสิทธิ์ที่จะประสบความสำเร็จไปแล้ว 50%

ลองมาดูทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรานำมาฝากทุกคนกันดูนะ ว่ามีอะไรบ้าง มันอาจจะเป็นไกด์ไลน์ให้คุณนำไปต่อยอดการวางแผนการตลาดเมื่อคุณเปิดร้านได้
ทริคเปิดร้าน 20 บาท ทำอย่างไรให้รับทรัพย์ยาวๆ

7. บริหารจัดการอย่างรอบคอบ

การบริหารจัดการที่ดี จะทำให้ร้าน 20 บาท ไปได้สวย ไม่ว่าคุณจะมีค่าใช้จ่ายอะไร หรือขายสินค้าอะไรไปบ้าง คุณควรทำบัญชีให้รัดกุม รวมถึงบันทึกรายรับรายจ่ายไว้ให้รอบคอบมากที่สุด สำหรับคนที่มีงบมากขึ้นมาหน่อย ระบบ POS อาจช่วยคุณได้ เพราะมันจะช่วยนับสต็อกให้ และมีรายรับรายจ่าย สต็อกสินค้า และสิ่งที่ขายไปในแต่ละวันชัดเจน แต่ถ้ายังไม่ได้ซื้อระบบ POS คุณอาจจะต้องมีผู้ช่วยในการทำบัญชีและเรื่องของการสต็อกสินค้าด้วยค่ะ

สรุป

1.เตรียมพร้อมก่อนเปิด — เตรียมเงินทุนให้พร้อมและเงินหมุนเวียน พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลทุกอย่าง ข้อดีข้อเสีย รวมถึงเรื่องการจดทะเบียนและการเสียภาษีให้ครบถ้วน

2.เลือกทำเลให้ดีที่สุด — เลือกทำเลที่ใกล้กับชุมชนมากที่สุด เลือกบริเวณที่มีผู้คนสัญจรผ่านไปผ่านมาบ่อย ๆ เช่น ใกล้โรงเรียน ตลาด โรงงานอุตสาหกรรมที่มีคนงานเยอะ ๆ

3.หาแหล่งซื้อสินค้า — แหล่งขายส่งยอดฮิตคือสำเพ็ง แต่ถ้าไม่ได้อยู่กรุงเทพฯ ให้เสิร์ชหาร้านขายส่งใกล้บ้าน หรือเลือกซื้อจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ

4.ใช้ชั้นวางให้ตอบโจทย์ — ใช้เซตชั้นวางให้เหมาะกับสินค้า ใช้แบบแผ่นชั้นสำหรับวาง ใช้แบบแขวนฮุกสำหรับสินค้าที่ต้องแขวน และใช้เคาน์เตอร์คิดเงินสวย ๆ ให้รับทรัพย์

5.สต็อกสินค้าเยอะ ๆ ไว้ก่อน — ควรลงสินค้าให้ครบหมวดหมู่ มีให้เลือกหลายประเภท หลายราคา เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่หลากหลาย เข้ามาในร้านแล้วได้สินค้าติดมือไป

6.วางแผนการตลาดเพิ่มยอดขาย — ขายแบบเน้นปริมาณ มีโปรโมชั่นทุกเดือน โปรโมททางโซเชียล อัพเดตเทรนด์ใหม่ ๆ ถามฟีดแบ็กลูกค้า และมีบริการที่ดี

7.บริหารจัดการอย่างรอบคอบ — ทำบัญชีให้รัดกุม มีการบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างละเอียด มีการบริหารจัดการสต็อกสินค้าที่ดี หรืออาจจะใช้ระบบ POS เข้ามาช่วย